Print this page

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา
ตำบลคำน้ำแซบ  สมัยก่อนเป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำ  ลำธาร  ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์นานา ชนิด  มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานราวปี พ.ศ. 2440-2450  พ่อใหญ่สิงห์  ทาเงิน  พร้อมพรรคพวกได้อพยพมาอยู่ริมแม่น้ำมูล  เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์  และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านท่าข้องเหล็ก  เหตุที่ชื่อว่าบ้านท่าข้องเหล็กเนื่องจากว่าชาวบ้านที่มาหาปลาบริเวณนั้น  อวน  แห  สำหรับหาปลามักติดกับเหล็กที่อยู่ใต้น้ำบ่อยๆ  จึงได้ชื่อว่าบ้านท่าข้องเหล็ก (คำว่า ข้อง ภาษาอีสานแปลว่า ติด)  ต่อมาประชาชนที่เป็นช่างฝีมือในการปั้นหม้อ  ปั้นไห  เครื่องปั้นดินเผา  ย้ายถิ่นมาจากโคราชเห็นว่าบริเวณ แม่น้ำมูลมีดินเหนียวมากพอจะทำเครื่องปั้นต่างๆ ได้จึงมาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้  และในเวลาต่อมาจึงได้ชื่อว่า บ้านช่างหม้อ  เวลานั้นตำบลคำน้ำแซบยังเป็นตำบลธาตุอยู่  ต่อมาปี พ.ศ.  2507  จึงแยกออกจากตำบลธาตุโดยมีนายพยอม  ละมูนวงศ์  เป็นกำนันตำบลคำน้ำแซบคนแรก  โดยได้นำเอาชื่อชุมชนคำน้ำแซบ  ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกันอยู่ในอำเภอวารินชำราบประกอบกับเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์  มีน้ำใช้อุปโภค  บริโภคอย่างเพียงพอ  จึงได้ชื่อว่า ตำบลคำน้ำแซบ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และตามชื่อ “คำน้ำแซบ” คือ “น้ำคำ” แปลว่า  น้ำที่ซึมซับจากผิวดิน “แซบ” คือ อร่อย  หมายถึง  แหล่งน้ำที่มีน้ำซึมออกมามีรสชาติอร่อย  เมื่อขุดเจาะลงไปจะพบตาน้ำที่ตื้นมาก  จึงทำให้ตำบลนี้ไม่ขาดน้ำ  ชาวบ้านจึงนิยมขุดบ่อน้ำตื้นไว้เพื่ออุปโภคบริโภค   โดยมีนายบุญโฮม  สายสอน  เป็นกำนันคนที่สอง ,  นายสมชาย  วิถี  เป็นกำนันคนที่สามและกำนันคนปัจจุบันชื่อนายสมร  ส่งเสริม  (องค์การบริหารส่วนตำบลคำน้ำแซบ จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่  16  เดือน  ธันวาคม   พ.ศ. 2539