วันพุธ, 22 พฤศจิกายน 2560 23:04

มาตรฐานการให้บริการ

มาตรฐานการให้บริการ   เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ อ.วารินชำราบ  จังหวัดอุบลราชธานี

มาตรฐานการปฏิบัติงาน

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

 

          มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลประชาชนในเขตเทศบาล เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอนามัย ส่งเสริมสุขภาพ งานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ งานสุขาภิบาลและการจัดการสิ่งแวดล้อม งานรักษาความสะอาด การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจำหน่ายอาหาร การสะสมอาหาร เผยแพร่วิชาการด้านสาธารณสุข การฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน วางแผนนโยบายด้านสาธารณสุขในพื้นที่ร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย โดยสามารถแบ่งงานส่วนภายใน ได้  3 ส่วน ดังนี้

          1. งานธุรการ

                   - งานรับเรื่องร้องเรียนเหตุรำคาญ และร้องเรียนร้องทุกข์อื่นๆ

                   - งานหนังสือราชการ คำสั่งต่างๆ และติดต่อประสานงาน

                   - งานรับเรื่องขอถังขยะมูลฝอย และหนังสือประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง

                   - งานขออนุญาตสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

                   - หนังสือรับ – ส่ง งานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ

                   - จัดทำหนังสือเชิญประชุม จัดเตรียมเอกสาร บันทึกการประชุม และรายงานการประชุม

                   - ควบคุมเอกสารการใช้รถ เอกสารเบิกจ่ายน้ำมันรถขยะและน้ำมันเชื้อเพลิงพ่นหมอกควัน

                   - งานบันทึกข้อความจัดซื้อจัดจ้างวัสดุในโครงการฯ ที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

                   - จัดรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ

          2. งานสาธารณสุข

                   2.1 งานส่งเสริมสุขภาพ

                             - งานส่งเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ และโรงเรียน ในพื้นที่

                             - งานส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน

                             - งานส่งเสริมโภชนาการในมารดาและทารก และเด็กปฐมวัย

                             - งานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ,งานอนามัยวัยรุ่น

                             - งานส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค

                             - แผนงานโครงการฯ งานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

                   2.2 งานป้องกันและควบคุมโรค

                             - งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในคนและสัตว์ และโรคอื่นๆ ตามฤดูกาล

                             - งานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ

                             - งานสอบสวนโรคระบาด และแต่งตั้งคณะกรรมการ SRRT ระดับตำบล

                             - งานด้านวิชาการ การเผยแพร่ความรู้กับประชาชน ในงานป้องกันและควบคุมโรค

                             - งานคุ้มครองผู้บริโภค เช่น อาหารและน้ำ เป็นต้น

                   2.3 งานรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพ

                             - ให้บริการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ร่วมกับ รพ.สต และหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่

-2-

                             - งานศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ ตำบลคำน้ำแซบ เช่น งานการเงิน การบัญชี เบิกจ่ายงบประมาณ รายงานประจำเดือน ฯลฯ

                             - งานออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้คำแนะนำด้านสุขภาพ

          3. งานสุขาภิบาลและงานอนามัยสิ่งแวดล้อม

                             - งานจัดการขยะมูลฝอย ควบคุมสิ่งปฏิกูล

                             - งานสุขาภิบาล เช่น อาหารและน้ำ เป็นต้น

                             - งานรักษาความสะอาด และบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

                             - งานควบคุมและจัดการมลพิษจากโรงงานและชุมชน

                             - งานควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

                             - งานป้องกันและควบคุมเหตุรำคาญ

                             - งานจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุและคนด้อยโอกาส

                             - งานธนาคารขยะรีไซเคิล, ผ้าป่าขยะ ฯลฯ

มาตรฐานการปฏิบัติงาน

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

 

          มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลประชาชนในเขตเทศบาล เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอนามัย ส่งเสริมสุขภาพ งานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ งานสุขาภิบาลและการจัดการสิ่งแวดล้อม งานรักษาความสะอาด การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจำหน่ายอาหาร การสะสมอาหาร เผยแพร่วิชาการด้านสาธารณสุข การฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน วางแผนนโยบายด้านสาธารณสุขในพื้นที่ร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย โดยสามารถแบ่งงานส่วนภายใน ได้  3 ส่วน ดังนี้

          1. งานธุรการ

                   - งานรับเรื่องร้องเรียนเหตุรำคาญ และร้องเรียนร้องทุกข์อื่นๆ

                   - งานหนังสือราชการ คำสั่งต่างๆ และติดต่อประสานงาน

                   - งานรับเรื่องขอถังขยะมูลฝอย และหนังสือประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง

                   - งานขออนุญาตสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

                   - หนังสือรับ – ส่ง งานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ

                   - จัดทำหนังสือเชิญประชุม จัดเตรียมเอกสาร บันทึกการประชุม และรายงานการประชุม

                   - ควบคุมเอกสารการใช้รถ เอกสารเบิกจ่ายน้ำมันรถขยะและน้ำมันเชื้อเพลิงพ่นหมอกควัน

                   - งานบันทึกข้อความจัดซื้อจัดจ้างวัสดุในโครงการฯ ที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

                   - จัดรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ

          2. งานสาธารณสุข

                   2.1 งานส่งเสริมสุขภาพ

                             - งานส่งเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ และโรงเรียน ในพื้นที่

                             - งานส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน

                             - งานส่งเสริมโภชนาการในมารดาและทารก และเด็กปฐมวัย

                             - งานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ,งานอนามัยวัยรุ่น

                             - งานส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค

                             - แผนงานโครงการฯ งานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

                   2.2 งานป้องกันและควบคุมโรค

                             - งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในคนและสัตว์ และโรคอื่นๆ ตามฤดูกาล

                             - งานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ

                             - งานสอบสวนโรคระบาด และแต่งตั้งคณะกรรมการ SRRT ระดับตำบล

                             - งานด้านวิชาการ การเผยแพร่ความรู้กับประชาชน ในงานป้องกันและควบคุมโรค

                             - งานคุ้มครองผู้บริโภค เช่น อาหารและน้ำ เป็นต้น

                   2.3 งานรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพ

                             - ให้บริการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ร่วมกับ รพ.สต และหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่

-2-

                             - งานศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ ตำบลคำน้ำแซบ เช่น งานการเงิน การบัญชี เบิกจ่ายงบประมาณ รายงานประจำเดือน ฯลฯ

                             - งานออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้คำแนะนำด้านสุขภาพ

          3. งานสุขาภิบาลและงานอนามัยสิ่งแวดล้อม

                             - งานจัดการขยะมูลฝอย ควบคุมสิ่งปฏิกูล

                             - งานสุขาภิบาล เช่น อาหารและน้ำ เป็นต้น

                             - งานรักษาความสะอาด และบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

                             - งานควบคุมและจัดการมลพิษจากโรงงานและชุมชน

                             - งานควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

                             - งานป้องกันและควบคุมเหตุรำคาญ

                             - งานจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุและคนด้อยโอกาส

 

                             - งานธนาคารขยะรีไซเคิล, ผ้าป่าขยะ ฯลฯ

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อการควบคุมจำนวนประชากรสุนัขในพื้นที่ตำบลคำน้ำแซบ                           1. หน่วยงานที่ร่วมดำเนินการได้แก่ หน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ อำเภอวารินชำราบและจังหวัดอุบลราชธานี หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เจ้าหน้าที่เทศบาล และประชาชน อาสาสมัครปศุสัตว์ในพื้นที่

          2. จำนวนสุนัขที่ได้รับการผ่าตัดทำหมัน ส่งต่อไปยังศูนย์พักพิง Door to freedom อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อการดูแลระยะยาวต่อไป

          3. กำหนดแผนการปฏิบัติการดำเนินงานร่วมกันดังนี้

3.1 กรณีสัตว์ที่มีเจ้าของ ให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้คือ

                             - สำรวจและขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง กับเทศบาลฯ

                             - สร้างองค์ความรู้และความตระหนักในความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยง รวมถึงการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า

                             - จัดหาวัคซีนป้องกันโรพิษสุนัขบ้า ให้กับสัตว์เลี้ยง โดยเจ้าของและเทศบาลฯ

                             - บริการผ่าตัดทำหมัน และควบคุมจำนวนประชากร อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

3.2 กรณีสัตว์ไม่มีเจ้าของ

                             - เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจจับสัตว์ควบคุมเพื่อกักขัง ถ้าไม่มีเจ้าของมาขอรับคืน ภายใน 5 วัน ให้เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนด คือแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่ ทำการตรวจสุขภาพสัตว์ ให้วัคซีน ผ่าตัดทำหมัน และดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ

                             - เมื่อปรากฏว่าถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ไม่ว่าสัตว์ตัวนั้นจะได้รับวัคซีนหรือไม่ ให้แจ้งต่อพนักงานท้องถิ่น เพื่อดำเนินการ

- ในช่วงระยะเวลา 5 วัน ให้นำสัตว์เลี้ยงกักขังไว้ที่ ศูนย์พักพิงสุนัขชั่วคราว วัดบ้านท่าข้องเหล็ก หรือที่กักขังชั่วคราว โรงเรือนสุนัข เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

                             - เมื่อครบกำหนด 5 วัน ไม่ปรากฏเจ้าของสัตว์ ให้เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่งสถานที่พักพิง Door to freedom อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

 

 

เอกสารประกอบ

1.      สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ

2.      สำเนาจดทะเบียนห้างฯ บริษัท

3.      หลักฐานแสดงว่าสถานที่นั้นใช้ประกอบได้โดยถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคาร

4.      แผนที่พอสังเขป

5.      แบบคำร้องขอรับ/ขอต่อใบอนุญาต

เอกสารเพิ่มเติมกรณีมอบอำนาจ

          1. หนังสือมอบอำนาจ

          2. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

1.      ยื่นคำร้องการขอรับ/ต่อใบอนุญาตสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ที่งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

2.      เจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจสอบเอกสาร และออกตรวจสถานประกอบการ

3.      เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล

4.      เจ้าพนักงานสาธารณสุข จัดทำเอกสารเสนอความเห็นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกใบอนุญาต

5.      เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาต

6.      แจ้งผู้ประกอบการชำระค่าธรรมเนียม ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายเทศบัญญัติ และรับใบอนุญาต

ระยะเวลาในการยื่นคำขอมีใบอนุญาต

1.      ยื่นคำร้องขอมีใบประกอบกิจการภายใน 15 วัน ก่อนเปิดดำเนินการ

2.      ในกรณีขอต่อใบอนุญาต ให้ยื่นคำร้องขอต่อใบอนุญาตภายใน 15 วัน ก่อนวันอนุญาตหมดอายุ

3.      การต่อใบอนุญาตประจำปี ต้องมายื่นคำร้องภายใน 15 วัน ก่อนวันอนุญาตหมดอายุ

 

เอกสารประกอบ

1.      สำเนาบัตรประชาชนผู้ร้องเรียน

2.      แบบคำร้องประชาชน

ขั้นตอนการดำเนินการ กรณีเกิดข้อร้องเรียน/เหตุรำคาญ

1. เมื่อกรณีเกิดเหตุรำคาญ/ประชาชนประสบเหตุ หรือผู้ที่ประสบพบเห็น มีสิทธิร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข ที่งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

2. เจ้าพนักงานสาธารณสุข รับเรื่องร้องเรียนและดำเนินการตรวจสอบกรณีร้องเรียนนั้น

          2.1 ถ้าไม่เป็นเหตุรำคาญ เจ้าพนักงานสาธารณสุข แจ้งต่อผู้ร้องทราบแล้วแต่กรณี และส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ หรือเรื่องร้องเรียนนั้นถือว่ายุติ

          2.2 ถ้าเป็นเหตุรำคาญ ต้องพิจารณาว่าเหตุรำคาญนั้น เกิดขึ้นในที่ทางสาธารณะหรือไม่ หรือเกิดขึ้นในสถานที่เอกชนและเกิดขึ้นเขตท้องถิ่นใด แล้วดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

3. เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจสอบพบว่า เป็นเหตุรำคาญ เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีหน้าที่ ต้องเสนอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีอำนาจในเขตท้องถิ่นนั้น ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ก่อเหตุนั้น (กรณีที่เกิดในที่ หรือทางสาธารณะ) หรือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่เอกชน (กรณีที่เกิดในสถานที่เอกชน) เพื่อให้ปรับปรุงแก้ไข หรือระงับเหตุรำคาญนั้น ซึ่งคำสั่งนั้นต้องมีสาระที่สำคัญ ดังนี้

1.1   ต้องมีชื่อหน่วยงาน ชื่อเจ้าพนักงาน พร้อมตำแหน่ง และวันเดือนปีที่ออกคำสั่ง

1.2   ต้องอ้างอิงข้อกฎหมาย ที่ให้อำนาจในการออกคำสั่งนั้น

1.3   ต้องอธิบายข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ต้องออกคำสั่ง ตามที่กฎหมายกำหนด

1.4   ต้องสั่งให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือระงับ หรือกำหนดวิธีการเพื่อการป้องกัน เหตุรำคาญในอนาคต ตามหลักวิชาการ ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ข้อเท็จจริงเรื่องนั้น พร้อมนี้ต้องกำหนดระยะเวลา ที่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้น ตามความเหมาะสมด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา ความยากง่ายในการแก้ไขปัญหานั้นๆ

1.5   กรณีที่คำสั่งใด ที่ผู้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องแจ้งสิทธิ และระยะเวลาที่จะอุทธรณ์ได้ ต่อบุคคลใดไว้ด้วย ในกรณีของเหตุรำคาญ ซึ่งกฎหมายสาธารณสุข กำหนดให้ผู้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น

4. เมื่อครบกำหนดเวลาที่ให้ไว้ในคำสั่งนั้น เจ้าพนักงานสาธารณสุขต้องไปตรวจสอบว่า มีการปรับปรุงแก้ไข หรือไม่อย่างำร กรณีที่ไม่มีการแก้ไข โดยเหตุผลอันสมควร ก็เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานฯ ที่จะผ่อนผันระยะเวลาตามข้อเท็จจริงได้ ตามความเหมาะสม แต่หากเป็นกรณีที่ผู้รับคำสั่งไม่ใส่ใจ หรือไม่นำพาต่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็อาจดำเนินการได้ 2 กรณี คือ

4.1  กรณีที่เหตุรำคาญนั้นเกิดในที่ หรือทางสาธารณะ เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุขต้องพิจารณาว่า เหตุรำคาญนั้นยังคงเกิดขึ้น และก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง ต่อสุขภาพหรือไม่?

-          ถ้าไม่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ก็ให้ดำเนินการลงโทษผู้ก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจดำเนินการเปรียบเทียบปรับ หรือดำเนินคดีทางศาล แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3

 

-9-

- ถ้าเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ร่วมกับเจ้าพนักงานสาธารรสุข ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อมิให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนต่อไป แล้วคิดค่าใช้จ่ายทั้งหมด จากผู้ที่ก่อเหตุรำคาญนั้น แล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการ เปรียบเทียบปรับ หรือดำเนินคดีทางศาล แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3 และหากผู้ที่ก่อเหตุไม่ยินยอมเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่น ก็สามารถฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายทางศาลได้ด้วย

4.2          กรณีที่เหตุรำคาญนั้นเกิดในสถานที่เอกชน เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ต้องพิจารณาว่า เหตุรำคาญนั้นยังคงเกิดขึ้น และก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง ต่อสุขภาพหรือไม่?

-         หากเหตุรำคาญยังคงเกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข อาจร่วมกันดำเนินการแก้ไขในสถานที่เอกชนนั้นได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายจากเจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น (ในกรณีที่เป็นเพราะการละเลย หรือยินยอมให้กระทำจากผู้เป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองนั้น) แล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการลงโทษ โดยการเปรียบเทียบปรับ หรือดำเนินคดีทางศาล แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3 และหากผู้ที่ก่อเหตุ ไม่ยินยอมเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็สามารถห้องเรียก ค่าใช้จ่ายทางศาลได้ด้วย

-         หากเหตุรำคาญยังคงเกิดขึ้น และเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพด้วย นอกจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการลงโทษ โดยการเปรียบเทียบปรับ หรือดำเนินคดีทางศาล แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3 ต่อเจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่เอกชนนั้นแล้ว เจ้าพนักงานสาธารณสุข อาจเสนอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ออกคำสั่งเป็นหนังสือ ห้ามิให้ใช้ หรือยินยอมให้บุคคลใด ใช้สถานที่นั้นทั้งหมด หรือบางส่วน จนกว่าจะได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้ ซึ่งกรณีนี้ก็จะมีผลคล้ายกับ การสั่งให้หยุดดำเนินกิจการนั่นเอง

Poll

ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานในโครงการก่อสร้าง ประเภทใดมากที่สุด ?
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
Total Votes:
First Vote:
Last Vote:

Map

สารสนเทศ สถ.

หน่วยงาน สถ.

ลิงค์น่าสนใจ